การเรียนรู้

ก.ค. 4

1 นาทีที่อ่าน

มรดกจาก ฮารุฮิโกะ คุโรดะ

มรดกจาก ฮารุฮิโกะ คุโรดะ

เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2566 วาระของผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น นายฮารุฮิโกะ คุโรดะ ได้สิ้นสุดลงและกาลอวสานแห่งยุคก็มาถึง

ฮารุฮิโกะ คุโรดะ ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น (BoJ) ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2556 เมื่ออดีตผู้ว่าการธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชียขึ้นดำรงตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ญี่ปุ่นยังคงกำลังฟื้นตัวจากวิกฤตการเงินปี 2551 และเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในเอเชียปี 2554

ในฐานะผู้ว่าการธนาคารกลาง คุโรดะเริ่มดำเนินนโยบายการเงินแบบหลวมๆ เพื่อต่อสู้กับภาวะเงินฝืดและสนับสนุน “อาเบะโนมิกส์” ภายใต้การนำของเขา ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นเริ่มดำเนินนโยบายเพื่อเพิ่มการซื้อสินทรัพย์ระยะสั้นและระยะยาว คุโรดะเขย่าธนาคารกลางอนุรักษ์นิยมและตลาดด้วยการเปิดตัวโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่เพื่อแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของเขาที่จะบรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อที่ 2% ในเวลาประมาณสองปี ในยุคของคุโรดะธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นได้เพิ่มงบดุลประมาณ 497 ล้านล้านเยน (3.7 ล้านล้านดอลลาร์) และปัจจุบันเป็นเจ้าของครึ่งหนึ่งของตลาดพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่น (JGB)

เป็นผลให้คุโรดะทิ้งมรดกหลากหลายไว้ให้กับธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น ในขั้นต้นนโยบายของคุโรดะได้รับการยกย่องในการส่งเสริมหุ้นของญี่ปุ่นและฟื้นฟูความเชื่อมั่นขององค์กร การกระตุ้นครั้งใหญ่ของเขาได้รับการยกย่องว่าสามารถดึงเศรษฐกิจออกจากภาวะเงินฝืดได้ แต่ในทางกลับกันก็ทำให้กำไรของธนาคารลดลงและบิดเบือนกลไกของตลาดผ่านอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำเป็นเวลานาน นักวิจารณ์ยังกล่าวหาคุโรดะด้วยว่าขัดขวางตลาดในการกำหนดอัตราดอกเบี้ยติดลบในปี 2559 การตัดสินใจที่สั่นสะเทือนตลาดและพิสูจน์แล้วว่าไม่เป็นที่นิยมอย่างมากต่อสาธารณชน เมื่ออิทธิพลเชิงบวกเริ่มจางหายและการซื้อพันธบัตรมหาศาลต้องเผชิญกับข้อจำกัด ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นจึงเปลี่ยนมาใช้นโยบายการกำหนดเป้าหมายอัตราดอกเบี้ย ด้วยเหตุนี้ข้อจำกัดอัตราดอกเบี้ยระยะยาวจึงถูกเพิ่มเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายที่เรียกว่า การควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทน (YCC) ซึ่งยังคงบังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน นโยบายนี้ทำให้เงินเยนของญี่ปุ่นอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นๆ

นักเศรษฐศาสตร์เชื่อว่าแม้อัตราดอกเบี้ยต่ำจะมีประโยชน์จริงๆ แต่การรักษาระดับอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำมากๆ ในระยะยาวอาจเป็นอุปสรรคต่อการปรับโครงสร้างองค์กรเพิ่มเติมในช่วงเวลาแห่งความไม่แน่นอนทั่วโลก

นายคาซูโอะ อุเอดะ เป็นนักวิชาการ ได้เข้ามาดำรงตำแหน่งแทนนายฮารุฮิโกะ คุโรดะ ในตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 9 เมษายน อุเอดะเป็นหัวหน้าที่ปรึกษาสถาบันวิจัยเศรษฐกิจและการเงิน และด้วยชื่อเสียงของนายอุเอดะในฐานะนักทฤษฎีเชิงปฏิบัติ นักวิเคราะห์บางคนจึงกล่าวว่าในที่สุดแล้วเขาจะโผล่ออกมาจากเงาของนายคุโรดะและกำหนดเส้นทางของตนเองไปสู่การปรับนโยบายการเงินให้เป็นปกติ