ธนาคารกลาง เป็นธนาคารที่ให้บริการทางการเงินให้กับรัฐบาล และธนาคารพาณิชย์ของ ประเทศนั้น ๆ

หน้าที่หลักของธนาคารกลาง คือ:

  • จัดหาเงิน และควบคุมอัตราแลกเปลี่ยน
  • ควบคุมการออกพันธบัตรในสกุลเงินของประเทศนั้น ๆ
  • ปล่อยสินเชื่อ และรับฝากเงินจากธนาคารพาณิชย์ พร้อมทั้งควบคุมกิจกรรม เหล่านั้นด้วย
  • บริหารจัดการหนี้สินของประเทศ
  • รักษาปริมาณทองคำสำรองของประเทศ
  • ประสานงานกันกับธนาคารกลางอื่น ๆ

ท่าทีของธนาคารกลางที่มีอิทธิพลต่อตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ:

  • การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย ธนาคารกลาง เพิ่มอัตราดอกเบี้ย ในลักษณะที่ทำให้สกุลเงินของประเทศเหล่านั้นเป็นที่สนใจของนักลงทุน แต่สร้างความซับซ้อนให้กับธนาคารพาณิชย์ สำหรับนักลงทุนแล้วการออมเงิน ในสกุลเงินของประเทศจะนำรายได้มาให้มากกว่า แต่สำหรับธนาคารพาณิชย์แล้ว จะมีต้นทุนจากการกู้สินเชื่อจากธนาคารกลางสูงขึ้นโดยส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์ต้อง เพิ่มอัตราดอกเบี้ยสำหรับการกู้ยืม และฝากเงินทุนให้กับบุคคลทั่วไปโดยอัตโนมัติ ในทางกลับกันการลดอัตราดอกเบี้ยจะมีกระบวนการเป็นไปในทิศทางตรงข้าม
  • เครื่องมือของตลาดการเงิน เครื่องมือเหล่านี้มักจะเป็นการซื้อขายตราสารโดยตรง ในตลาดเปิด การซื้อตราสารจากธนาคารกลางนั้นนำไปสู่การเพิ่มทุนสำรองซึ่งทำ ให้มีความเป็นไปได้ของการเพิ่มปริมาณเงินสินเชื่อให้แก่บริษัทในหลายภาคต่าง ๆ ของเศรษฐกิจ หรือสินเชื่อให้กับธนาคารพาณิชย์ซึ่งธนาคารพาณิชย์จะเป็นผู้ปล่อย สินเชื่อให้กับองค์กรเหล่านี้แทน (ขึ้นอยู่กับโครงสร้างของการทำงานร่วมกันในแต่ละ ประเทศ) ธนาคารกลางจะกระตุ้นการพัฒนาของเศรษกิจได้ด้วยวิธีนี้ การที่ธนาคารกลางขายตราสารนั้นจะทำให้เงินทุนสำรองของธนาคารกลางลดลง และลดความเป็นไปได้ของการให้สินเชื่อของธนาคาร
  • การเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดของเงินทุนสำรอง ธนาคารกลางสามารถกำหนด ปริมาณสินเชื่อที่ปล่อยออกจากธนาคารพาณิชย์ด้วยการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดเหล่านี้ โดยจะส่งผลให้เปลี่ยนแปลงจำนวนเงินในประเทศ
  • การดำเนินการด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ธนาคารกลางสามารถดำเนินการในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศโดยกำหนด ให้สกุลเงินประจำชาติมีการ อ่อนค่า/แข็งค่า ได้ (การแทรกแซง) หรือในทางกลับกัน สามารถถือสกุลเงินไว้จนถึงระดับหนึ่ง การถือสกุลเงินไว้จนถึงระดับหนึ่งทำได้โดย การถือ แช่สกุลเงินไว้ และยกเว้นการเข้า หรือ ออกของสกุลเงินประจำชาติในตลาด ต่างประเทศ นอกจากนี้ธนาคารกลางยังสามารถเก็บทรัพย์สินต่าง ๆ ในธนาคารกลาง อื่น ๆ และทำการแลกเปลี่ยนสกุลเงินได้โดยตรง

ธนาคารกลาง เช่น ระบบธนาคารกลางแห่งสหรัฐอเมริกา (Federal Reserve System) ธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank) ธนาคารกลางแห่งประเทศอังกฤษ (Bank of England) ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น (the Bank of Japan) ธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ (Swiss National Bank) ธนาคารกลางแคนาดา (Bank of Canada) ธนาคารกลางออสเตรเลีย (Reserve Bank of Australia) ธนาคารกลางแห่งนิวซีแลนด์ (Reserve Bank of New Zealand) เป็นธนาคารที่ใหญ่ ที่สุด และมีประสิทธิภาพมากที่สุดในโลกซึ่งมีผลกระทบต่อตลาด Forex

ระบบธนาคารกลางแห่งสหรัฐอเมริกา (Federal Reserve System)

ระบบธนาคารกลางแห่งสหรัฐอเมริกา

ระบบธนาคารกลางแห่งสหรัฐอเมริกา (FRS หรือ FED) ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2456 และทำหน้าที่เป็นธนาคารกลางของประเทศสหรัฐอเมริกา รัฐมีอิทธิพลหลักต่อธนาคาร ถึงแม้ว่าผู้ถือหุ้นเอกชนที่มีสถานะพิเศษจะเป็นเจ้าของเงินทุนก็ตาม
FED เป็นธนาคารกลางที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดของโลกเนื่องจากสกุลเงิน USD เป็นสกุลเงินสำรองของโลก FED มีอิทธิพลอย่างมากต่อปริมาณของสกุลเงินต่าง ๆ
คณะกรรมการ: คณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา (The Federal Open Market Committee: FOMC) ประกอบไปด้วยผู้นำจากคณะกรรมการ ของธนาคารกลาง 7 คน และประธานจากธนาคารสำรองเงินทุนส่วนภูมิภาค 12 คน คณะกรรมการมีหน้าที่กำหนดอัตราดอกเบี้ย
วัตถุประสงค์: ความมีเสถียรภาพด้านราคา และการเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ
การประชุม: 8 ครั้งต่อปี

ธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank)

ธนาคารกลางยุโรป

ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2541 มันเป็นศูนย์กลางทางการเงินที่ มีอำนาจควบคุมเขตโซนยุโรป ผู้มีอำนาจตามมา คือ สถาบันการเงินยุโรป (European Monetary Institute: EMI) EMI มีบทบาทสำคัญในการเตรียมการริเริ่มการไหลเวียน ของสกุลเงินยูโร
คณะกรรมการ: สมาชิก 6 คนจากคณะกรรมการของธนาคารกลางยุโรป และผู้นำของ ธนาคารกลางของประเทศในเขตโซนยุโรป 12 คน พวกเขาทำหน้าที่ตัดสินใจเกี่ยวกับ นโยบายทางการเงิน
วัตถุประสงค์: ความมีเสถียรภาพด้านราคา และการเติบโตทางเศรษฐกิจ และรักษา การเติบโตของราคาผู้บริโภคต่อปีให้อยู่ต่ำกว่า 2 เปอร์เซ็นต์ ธนาคารพยายามหาวิธี ป้องกันไม่ให้สกุลเงินยูโรเพิ่มค่าขึ้นเนื่องมีผลต่อการส่งออกของ เขตโซนยุโรป
การประชุม: 1 ครั้งในทุก ๆ 2 สัปดาห์ อย่างไรก็ตามการประชุมเกี่ยวกับนโยบายการเงินจะจัดขึ้น 11 ครั้งต่อปี และจะมีการ จัดประชุมแถลงข่าว

ธนาคารกลางแห่งประเทศอังกฤษ (Bank of England)

ธนาคารกลางแห่งประเทศอังกฤษ

ธนาคารกลางแห่งประเทศอังกฤษ (BOE) ถูกตั้งขึ้นเป็นธนาคารเอกชนในปี พ.ศ. 2237 แต่เริ่มให้บริการในฐานะธนาคารกลางแห่งประเทศอังกฤษหลังจากโอนเป็นธนาคารของ รัฐ เมื่อปี พ.ศ. 2489 BOE ถือเป็นธนาคารกลางหนึ่งที่ทรงอิทธิพลที่สุดในโลก
คณะกรรมการ: ประกอบไปด้วยผู้นำของ BOE สมาชิกสภาผู้แทน 2 คน นักบริหาร 2 คน และผู้ส่งออกภายนอก 4 คน
วัตถุประสงค์: เสถียรภาพทางการคลัง และการเงิน เพื่อสนับสนุน และควบคุม ระดับ สภาวะเงินเฟ้อให้อยู่ที่ 2%.ในความเป็นจริงแล้ว หากสภาวะเงินเฟ้ออยู่ที่ระดับต่ำกว่า 2%. ธนาคารจะทำทุกวิถีทางเพื่อเพิ่มระดับเงินเฟ้อให้อยู่ที่ 2%.
การประชุม: เดือนละ 1 ครั้ง

ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น (the Bank of Japan)

ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น

ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น (BOJ) ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2416 บนพื้นฐานกฎหมาย ของธนาคารแห่งชาติซึ่งได้รับอิทธิพลจากกฏหมายอเมริกันของปี ค.ศ. 1863 ธนาคารมีสถานะเป็นบริษัทร่วมหุ้นที่เป็นคุณลักษณะหลักของธนาคาร รัฐบาลของญี่ปุ่น เป็นเจ้าของทุนอยู่ที่ 55% ส่วนที่เหลืออีก 45% ถือหุ้นโดยบริษัทประกันภัย สถาบัน การเงิน และนักลงทุนคนอืน ๆ
คณะกรรมการ: ผู้นำของธนาคาร สมาชิกสภาผู้แทน 2 คน และสมาชิกคนอื่น ๆ 6 คน คณะกรรมการมีหน้าที่รับผิดชอบต่อนโนบายทางการเงิน
วัตถุประสงค์: สนับสนุนเสถียรภาพของราคา และการเงินของประเทศญี่ปุ่น หาวิธีป้องกันการเพิ่มมูลค่าของสกุลเงินของประเทศซึ่งเหมือนกันกับ ECB และ BOJ เนื่องจากมีผลกระทบต่อการส่งออกของประเทศ
การประชุม: 1 หรือ 2 ครั้งต่อเดือน

ธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ (Swiss National Bank)

ธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์

ธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ (SNB) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2450 มีสำนักงานอยู่ 2 แห่งที่เมืองเบิร์น และซูริค
คณะกรรมการ: ผู้นำของธนาคาร สมาชิกสภาผู้แทน และสมาชิก 1 คน คณะกรรมการทำหน้าที่ตัดสินใจในอัตราดอกเบี้ย ไม่เหมือนกับธนาคารกลางอื่น ๆ ตรงที่ SNB กำหนดระดับของอัตราแลกเปลี่ยนเท่านั้น
วัตถุประสงค์: เสถียรภาพของราคา และป้องกันไม่ให้สกุลเงินของประเทศเติบโตมาก จนเกินไป (เนื่องจากส่งผลกระทบต่อการส่งออกของประเทศ)
การประชุม: 1 ครั้งในทุก ๆ 3 เดือน

ธนาคารกลางแคนาดา (Bank of Canada)

ธนาคารกลางแคนาดา

ธนาคารกลางแคนาดา (BOC) เริ่มทำงานในปี พ.ศ. 2478 สำนักงานใหญ่ของธนาคาร ตั้งอยู่ในเมืองออตตาวา
คณะกรรมการ: ผู้นำของธนาคาร และ สมาชิกสภาผู้แทน 5 คน คณะกรรมการตัดสินใจ ในนโยบายทางการเงิน
วัตถุประสงค์: รักษาความสมบูรณ์ และค่าของสกุลเงิน รวมทั้งควบคุมสภาวะเงินเฟ้อ ให้อยู่ที่ 1 ถึง 3%
การประชุม: 8 ครั้งต่อปี

ธนาคารกลางออสเตรเลีย (Reserve Bank of Australia)

ธนาคารกลางออสเตรเลีย

ธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) เป็นธนาคารอย่างเป็นทางการตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2503 หลังจากการได้รับสิทธิจาก Commonwealth Bank of Australia
คณะกรรมการ: ผู้นำของธนาคาร สมาชิกสภาผู้แทน กระทรวงการคลัง และสมาชิกอิสระ ที่ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาล 6 คน คณะกรรมการมีหน้าที่รับผิดชอบในนโยบายทาง การเงิน
วัตถุประสงค์: เสถียรภาพทางการเงิน และการเติบโตของเศรษฐกิจ รักษาอัตราการจ้างงานแบบเต็มรูปแบบ รวมถึงการเพิ่มรายได้ให้กับประเทศ และควบคุมสภาะวะเงินเฟ้อให้อยู่ที่ 2 ถึง 3%
การประชุม: เดือนละ 1 ครั้ง ยกเว้นเดือน มกราคม

ธนาคารกลางแห่งนิวซีแลนด์ (Reserve Bank of New Zealand)

ธนาคารกลางแห่งนิวซีแลนด์

ธนาคารกลางแห่งนิวซีแลนด์ (RBNZ) ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2477 โดยมีรัฐเป็นเจ้าของ คุณสมบัติหลักของธนาคาร คือ ยากต่อการควบคุมการดำเนินการตามเป้าหมาย ในกรณีที่ล้มเหลวอาจมีการเปลี่ยนผู้ดำรงตำแหน่งของผู้นำธนาคาร
คณะกรรมการ: ผู้นำของธนาคารเป็นผู้ตัดสินใจในนโยบายทางการเงิน
วัตถุประสงค์: เสถียรภาพของราคา และอัตราดอกเบี้ย อัตราการแลกเปลี่ยน และเศรษฐกิจ เช่นเดียวกับการควบคุมสภาวะเงินเฟ้อให้อยู่ที่ 1.5%.
การประชุม: 8 ครั้งต่อปี