พลังงาน

ก.ค. 4

3 นาทีที่อ่าน

ปัจจัยในการกำหนดราคาก๊าซธรรมชาติ

ปัจจัยในการกำหนดราคาก๊าซธรรมชาติ

วันนี้เรามาพูดถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดราคาก๊าซธรรมชาติกัน ควรสังเกตว่ามีการซื้อขายก๊าซธรรมชาติทั่วโลก นี่เป็นเพียงบางส่วนในการแลกเปลี่ยนที่สำคัญ:

  • ตลาดซื้อขายสัญญาน้ำมันล่วงหน้าแห่งนิวยอร์ก (NYMEX);
  • ตลาดหลักทรัพย์อินเตอร์คอนติเนนตัล (ICE);
  • ตลาดซื้อขายแลกเปลี่ยนพลังงานแห่งยุโรป (EEX);
  • ตลาดซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าโภคภัณฑ์แห่งโตเกียว (TOCOM);
  • ตลาดซื้อขายแลกเปลี่ยนสัญญาล่วงหน้าแห่งเซี่ยงไฮ้ (SHFE);
  • ตลาดซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าโภคภัณฑ์แห่งประเทศอินเดีย (MCX);
  • ตลาดซื้อขายสัญญาน้ำมันล่วงหน้าแห่งดูไบ (DME)

สำหรับนักเทรดนั่นหมายถึงว่าในแง่การวิเคราะห์เชิงเทคนิค คุณจะไม่สามารถวิเคราะห์ง่ายๆ จากแผนภูมิเพียงอันเดียวแล้วเข้าใจแนวโน้มราคาก๊าซธรรมชาติในระยะกลางหรือระยะยาวได้ ฉะนั้นในการคาดการณ์ราคาก๊าซธรรมชาติจึงควรคำนึงถึงปัจจัยพื้นฐานทั่วไปที่จะส่งผลต่อราคาก๊าซธรรมชาติทั่วโลกด้วย ปัจจัยต่างๆ เหล่านั้นได้แก่:

  • อุปสงค์และอุปทาน

ความสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทานมีอิทธิพลต่อราคาก๊าซธรรมชาติเป็นหลัก เมื่อความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้นและไม่สามารถจัดหาได้ทันราคาก็มีแนวโน้มสูงขึ้น ในทางกลับกันราคามักจะลดลงเมื่อมีอุปทานเหลือเฟือและมีอุปสงค์น้อย คุณสามารถติดตามระดับอุปสงค์และอุปทานได้จากแหล่งข้อมูลต่างๆ เช่น สถาบันข้อมูลด้านพลังงานแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (EIA), ตลาดหลักทรัพย์อินเตอร์คอนติเนนตัล (ICE) (ข้อมูลทางเลือก), หน่วยข่าวกรองก๊าซธรรมชาติ (NGI) และอื่นๆ

  • สภาพอากาศ

สภาพอากาศมีบทบาทสำคัญในการกำหนดราคาก๊าซธรรมชาติ เนื่องจากเป็นเชื้อเพลิงหลักที่ใช้สำหรับทำความร้อนภายในบ้านและธุรกิจในช่วงเดือนที่อากาศหนาวเย็น ฤดูหนาวอันหนาวเหน็บทำให้ความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติมีเพิ่มขึ้นซึ่งอาจผลักดันให้ราคาสูงขึ้นได้ ในทางกลับกันฤดูหนาวที่ไม่รุนแรงอาจส่งผลให้อุปสงค์ลดลงและราคาก็ถูกลง ตัวอย่างเช่น ฤดูหนาวที่อบอุ่นในปี 2565-2566 ในยุโรปทำให้ราคาก๊าซธรรมชาติดิ่งลงตามการบริโภคที่ลดลง

  • ระดับการจัดเก็บ

ก๊าซธรรมชาติปริมาณมากมักถูกกักเก็บไว้ใต้ดินเพื่อใช้ในภายหลัง เมื่อระดับการกักเก็บต่ำและความต้องการใช้สูงราคาก็มักจะสูงขึ้น เมื่อระดับการกักเก็บสูงและความต้องการใช้ต่ำราคาก็มักจะถูกลง คุณสามารถค้นหาระดับการกักเก็บก๊าซธรรมชาติได้จากแหล่งต่างๆ มากมายรวมถึงสถาบันข้อมูลด้านพลังงานแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (EIA), เครือข่ายผู้ให้บริการระบบขนส่งก๊าซในยุโรป (ENTSOG), โครงสร้างพื้นฐานก๊าซแห่งยุโรป (GIE), โครงข่ายไฟฟ้าแห่งชาติ (เผยแพร่รายงานประจำสัปดาห์เกี่ยวกับระดับการกักเก็บก๊าซธรรมชาติในสหราชอาณาจักร) และ Platts

  • ปัจจัยทางเศรษฐกิจ

สุขภาพเศรษฐกิจยังสามารถมีอิทธิพลต่อราคาก๊าซธรรมชาติ การเติบโตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งมักนำไปสู่ความต้องการใช้พลังงานที่เพิ่มขึ้นรวมไปถึงก๊าซธรรมชาติซึ่งสามารถผลักดันราคาให้สูงขึ้นได้ ในทางกลับกันการชะลอตัวทางเศรษฐกิจสามารถนำไปสู่ความต้องการที่ลดลงและราคาที่ถูกลง

  • ระเบียบและนโยบายของรัฐบาล

ระเบียบและนโยบายของรัฐบาลอาจมีอิทธิพลต่อราคาก๊าซธรรมชาติได้เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น นโยบายที่ส่งเสริมการใช้ก๊าซธรรมชาติในการผลิตพลังงานอาจนำไปสู่อุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นและราคาก็จะสูงขึ้น ในขณะที่นโยบายที่จำกัดการผลิตก๊าซธรรมชาติอาจทำให้อุปทานลดลงและราคาก็จะเพิ่มสูงขึ้น เมื่อรัสเซียบุกยูเครนในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 สหภาพยุโรปได้กำหนดมาตรการคว่ำบาตรต่อก๊าซธรรมชาติของรัสเซีย อุปทานจากรัสเซียที่ส่งไปยังยุโรปจึงลดลงส่งผลให้ราคาก๊าซธรรมชาติพุ่งสูงขึ้น

  • ภัยพิบัติทางธรรมชาติ

ภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว สึนามิ และพายุทอร์นาโด สามารถส่งผลกระทบต่อราคาก๊าซธรรมชาติได้อย่างมาก แม้ว่าแผ่นดินไหวจะไม่ส่งผลกระทบต่อการผลิตก๊าซธรรมชาติโดยตรงแต่ก็สามารถก่อให้เกิดความเสียหายต่อท่อส่งก๊าซ โรงเก็บ และโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ ที่ใช้ในการขนส่งและกักเก็บก๊าซธรรมชาติได้ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคต่อการจัดหาลำเลียงและส่งผลกระทบต่อราคา ตัวอย่างเช่น เหตุการณ์แผ่นดินไหวที่รัฐแคลิฟอร์เนียตอนใต้เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2562 ทำให้โรงเก็บกักก๊าซธรรมชาติ Aliso Canyon ต้องปิดชั่วคราว ซึ่งเป็นหนึ่งในโรงเก็บกักก๊าซธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดในประเทศสหรัฐอเมริกา

ผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติรายใหญ่ที่สุดในโลกประจำปี 2564 ตาม EIA:

  1. สหรัฐอเมริกา: 935.6 พันล้านลูกบาศก์เมตร;
  2. รัสเซีย: 653.8 พันล้านลูกบาศก์เมตร;
  3. อิหร่าน: 259.8 พันล้านลูกบาศก์เมตร;
  4. กาตาร์: 180.6 พันล้านลูกบาศก์เมตร;
  5. แคนาดา: 158.6 พันล้านลูกบาศก์เมตร;
  6. จีน: 156.5 พันล้านลูกบาศก์เมตร;
  7. นอร์เวย์: 119.6 พันล้านลูกบาศก์เมตร;
  8. ออสเตรเลีย: 95.5 พันล้านลูกบาศก์เมตร;
  9. ซาอุดิอาระเบีย: 85.3 พันล้านลูกบาศก์เมตร;
  10. อินโดนีเซีย: 71.2 พันล้านลูกบาศก์เมตร;